• บทความทางศาสนา

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางอิสลาม

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางอิสลาม 

     ความพอเพียง เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นภายในจิตใจก่อน จึงจะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงได้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ที่ประกอบไปด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันนั้น เป็นหลักแห่งทางสายกลาง และการพึ่งพาตัวเอง ให้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซุนนะห์ ของ ท่าน นบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ท่านถือเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ยิ่งในเรื่องนี้ 

    ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นได้ ก็ขึ้นอยู่กับความสมดุล ระหว่างการผลิต และความต้องการ ในการบริโภค ถ้าหากว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง น้อยเกินไปหรือมากเกินไปแล้ว เราก็ไม่สามารถสร้างความมั่นคง และยั่งยืนในเศรษฐกิจ ที่จะนำไปสู่ความพอเพียงได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าเรายึดหลักตามแนวทางของศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.) แล้ว เราก็จะสัมผัสได้ถึงความสำเร็จ และสามารถยืนอยู่บนความพอดี และพอเพียงได้อย่างแน่นอน ดังวจนะของท่านนบี มูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ว่า 

افضل الكسب بيع مبرور وعمل الرجل بيده رواه احمد

"อาชีพที่ประเสริฐที่สุดคือ การค้าที่ซื่อสัตย์ และการทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง " รายงานโดย อะห์หมัด จากอัลฮ่าดิษบทนี้ จะเห็นได้ว่าท่านรสูลุลลออฮ เน้นที่การพึ่งตนเองก่อน และความซื่อสัตย์ตรงไป ตรงมา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่งเสริมให้เริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน นับหนึ่งที่ตัวเรา สองสามหรือสี่ ถ้ามีก็ใช้หลักพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอีกทางหนึ่ง จากหลายๆ หนทาง 

    อย่างไรก็ตาม มาตรฐานของคนเรานั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานะของแต่ละบุคคล แต่ละครอบครัว ความต้องการ และความหวังที่แตกต่างกัน คงไม่มีสูตรสำเร็จใดในเรื่องนี้ ที่จะเป็นตัวตั้งค่ามาตรฐานฃอง ความพอเพียงว่า ควรจะแค่ไหน เพียงใด อย่างไร แต่ถ้าเรายึดหลักตามแนวทางของศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.) แล้ว ท่านสงเสริมให้ ยึดทางสายกลางเป็นหลักในการดำเนินการ ไม่มากไปหรือไม่น้อยไป ดังวจนะของท่านนบี มูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ว่า

جيرالامور

      ความน่าภาคภูมิใจ ในการได้มากับการใช้ไป ด้วยความกลมกลืนและเหมาะสมนั่น ถือว่าเป็นความสำเร็จระดับหนึ่ง ต่อการก้าวต่อไปอีกหลายๆ ก้าว เช่น เรื่องของอาหารที่ใช้ในการดำรงชีวิต . ถ้าเราสามารถผลิตได้เอง ปลูกไว้กินเองได้ หากเหลือจากการบริโภคแล้ว เรายังสามารถขยายไปสู่การจำหน่ายจ่ายแจก ก็ย่อมถือเป็นความมั่นคง ทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและถาวรได้ด้วยเช่นเดียวกัน ดังวจนะของท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่มีความว่า 
" ไม่มีอาหารใดจะดีกว่าอาหารที่ได้มา จากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง และน่าบีของอัลเลาะห์ คือน่าบีดาวูด (อ) นั้น ท่านรับประทานอาหารที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของตน " รายงานโดย.... บูคอรีย์ 
ดังนั้นเราควร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้อย่างประหยัด รู้จักความพอดี มีวินัย เพื่ออนาคตที่สดใส ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ 

وبالله التوفبق والهدايه والسلام عليكم ورحمة الله وباركاته

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ โปรดยอมรับนโยบายคุกกี้เพื่อประสบการณ์การใช้บริการที่ดีที่สุดของท่าน ท่านสามารถศึกษาวิธีการตั้งค่าการควบคุมคุกกี้ของท่านผ่านนโยบายการใช้คุกกี้ของเราที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้ของเราที่นี่ ยอมรับ